รวมที่เที่ยว
จ.พะเยา
อ.เมือง
กว๊านพะเยา
กว๊านในภาษาเหนือคือ น้ำลึกหรือน้ำวน กว๊านพะเยาเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ
๓ ของประเทศไทย รองจากบึงบอระเพ็ดและหนองหาน เป็นแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือตอนบน
มีเนื้อที่ ๑๒,๘๓๑ ไร่ เมื่อก่อนเกิดน้ำแห้งในฤดูแล้งจึงทำให้เกิดเป็นสองแอ่ง
กว๊านหลวงกับกว๊านน้อย ฝนตกหน้าน้ำทีไรน้ำท่วมไปทั่วบริเวณ ต่อมากรมประมงจึงสร้างทำนบกั้นลำน้ำอิงในปี
พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงทำให้กว๊านพะเยาเป็นบึงธรรมชาติขนาดใหญ่ มีน้ำค่อนข้างคงที่
มีน้ำสูงขึ้น ความลึกเฉลี่ย ๑.๕ เมตร
กว๊านพะเยาจึงกลายเป็นที่ตั้งสถานีประมงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ และมีชื่อเสียง
ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมปลาบึกได้เป็นครั้งแรกของโลกเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๖
บรรยากาศรอบริมชายกว๊านสวยงามเย็นสบายน่านั่งมากๆ
มีร้านอาหารให้นั่งรับประทานมากมาย มีเมนูปลามากมาย ทั้งปลาบึก ปลาคัง
ปลาเผากุ้งเต้น ฯลฯ ทานอาหารไปชมวิวทิวทัศน์ไป ลมเย็นสบายเลยค่ะ
ยามเช้าชมพระอาทิตย์ขึ้น ยามเย็นชมพระอาทิตย์ตก มีภูเขาเป็นฉากหลัง
ดอยหลวงกับดอยหนอกเด่นตระหง่าน พระอาทิตย์ลับฟ้าลาลง ดอยภูเขา
สายน้ำสีทองส่องผ่านชีวิตเรียบง่ายที่พายเรือหาปลา ตั้งแต่เช้าจนเย็นย่ำทุกวัน
กระชังปลามีเลี้ยงหลากหลาย ปลามากมีให้จับถึง ๕๐ ชนิดจากกว๊านแห่งนี้ ทั้งกุ้งหอย
ปลากรายสวาย เทโพ ปลาจีน ชะโด ปลานิล ปลาใน และทับทิม ฯลฯ บัวหลวง ดอกม่วง
และบัวสาย บ้านริมกว๊านยังมีสวนสาธารณะให้ออกกำลังกาย มีอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองให้กราบไหว้
องค์การอนามัยโลกกำหนดให้จังหวัดพะเยาเป็นเมืองที่น่าอยู่เมืองหนึ่งของโลกและได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุด
๑ ใน ๕ ของประเทศไทย
วัดติโลกอาราม
วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางกว๊านพะเยา
เป็นที่ตั้งของหลวงพ่อศิลาแห่งกว๊านพะเยา วัดติโลกอารามได้จมอยู่ใต้บาดาลมานานกว่า
๕๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานศิลาจารึกได้บันทึกไว้ว่า
พระราชาสมัยนั้นผู้ครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าติโลกราช โปรดให้เจ้าแสนหัว
เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ได้สร้างถวายในปีพ.ศ. ๒๐๑๙ – ๒๐๒๙
เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแก่กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ชาวล้านนาได้ยกย่องต่อพระเจ้าติโลกราช
เวลาผ่านไปพิษภัยจากสงครามและน้ำท่วม
วัดติโลกอารามจึงได้จมอยู่ใต้น้ำมายาวนาน เมื่อมีโครงการกู้วัดติโลกอารามขึ้นมาใหม่
จึงได้อัญเชิญหลวงพ่อศิลา (กว๊านพะเยา)
แต่เดิมซึ่งเก็บอยู่ที่วัดศรีอุโมงค์คำมาประดิษฐานอยู่บนเกาะกลางกว๊านพะเยา
กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวศึกษาวัฒนธรรมแห่งใหม่ขึ้นมา ฟื้นตำนานอารยะธรรมกลุ่มน้ำอิง
ให้กลับมามีชีวิตเหมือนดังอดีตไม่ได้สูญหายอีกต่อไป หากจะไปไหว้สักการะหลวงพ่อศิลาให้ลงเรือที่ศาลาท่าเรือริมกว๊าน
ซึ่งมีเรือให้บริการทุกวัน เรือแจวพร้อมมุ่งหน้าสู่กลางน้ำ
กราบนมัสการหลวงพ่อศิลาแห่งวัดติโลกอาราม กลางกว๊านพะเยา
วัดศรีโคมคำหรือวัดพระเจ้าตนหลวง
ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดพะเยา มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่คือพระเจ้าตนหลวง
เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่บ้านคู่เมืองพะเยา ชาวบ้านเรียกกันว่าพระนั่งดิน
เพราะประดิษฐานอยู่บนดินแทนฐานชุกชี เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพะเยา ช่วงวิสาขบูชา
มีประเพณีแปดเป็ง นมัสการพระเจ้าตนหลวง ถือเป็นงานบุญใหญ่ของชาวพะเยา
พระพุทธบาทจำลอง ภายในวัดศรีโคมคำ มี ๒
รอยประดิษฐานไว้ในเขตพุทธาวาส อยู่ทางขวามือของพระวิหารพระเจ้าตนหลวง
ไม่ทราบแน่นอนว่าสร้างขึ้นในสมัยใด รอยข้างขวากว้าง ๐.๕๖ เมตร ยาว ๑.๓๒ เมตร
รอยข้างซ้ายนั้นยาวเท่ากัน ในพื้นฝ่าพระพุทธบาททั้ง ๒ รอย
มีลวดลายเกี่ยวกับมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ตามพุทธลักษณะโดยครบถ้วน
ลวดลายลักษณะพระพุทธบาทนั้น คล้ายคลึงกับศิลปะสุโขทัย จึงมีความสวยงามมากเป็นพิเศษ
อาจถูกจำลองมาจากสุโขทัยก็เป็นได้
โบสถ์กลางน้ำ อยู่ด้านหลังวิหารพระเจ้าตนหลวง สร้างในปี ๒๕๒๘ เสร็จในปี ๒๕๒๙
เป็นโบสถ์หลังใหม่ ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในเป็นฝีมือของอังคาร กัลยาณพงศ์
ศิลปินแห่งชาติ แต่ว่างานยังคงไม่เสร็จสมบูรณ์
ถึงอย่างไรงานชิ้นนี้ดูมีคุณค่ายิ่งนัก ต่อมาเมื่อง ๒๗ มกราคม ๒๕๓๖
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จตัดลูกนิมิต
ถือว่าเป็นศิริมงคลอย่างยิ่งสำหรับวัดศรีโคมคำ
หอวัฒนธรรมนิทัศน์
อยู่ใกล้กับวัดศรีโคมคำ
เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุ เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา
ภายในอาคารมีห้องแสดงต่างๆมากมาย เช่นก่อนที่จะเป็นอาณาจักรขุนเจือง
กษัตริย์องค์ที่ ๒ ของอาณาจักรภูกามยาว ห้องพญางำเมือง แสดงถึงความสัมพันธ์ของ ๓
กษัตริย์ ได้แก่ พญาร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย พญาเม็งรายแห่งอาณาจักรล้านนาและพญางำเมืองแห่งอาณาจักรภูกามยาว
ห้องแสดงเครื่องปั้นดินเผา ห้องแสดงพะเยายุครุ่งเรืองและยุคเสื่อม
ห้องแสดงวิถีชาวบ้าน ประวัติพระเจ้าตนหลวง ยังมีลานแสดงศิลาจารึกอีกมากมาย
เปิดทำการทุกเวลา ๘.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. โทร. ๐๕๕-๔๑๐๐๕๘ –
๙
อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง
จังหวัดพะเยาได้รับการยกฐานะให้เป็นจังหวัดที่
๗๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ชาวพะเยาจึงร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองขึ้น
บริเวณสวนสาธารณะริมกว๊านพะเยา เป็นรูปปั้นสำริดความสูงเท่าครึ่งขององค์จริงในท่าประทับยืน
ทรงชุดกษัตริย์สวมมงกุฎ พระหัตถ์ถือดาบอาญาสิทธิ์ หันพระพักตร์ไปทางกว๊านพะเยา
ประดิษฐานบนแท่นสูง ๒.๕๐ เมตร พ่อขุนงำเมืองเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพะเยา
มีคนแวะเวียนมากราบไหว้สักการะอนุสาวรีย์ของท่านอยู่ตลอด ยิ่งช่วงเทศกาลลอยกระทงบริเวณริมกว๊านจะคึกคักเป็นพิเศษ
ตามประวัติกล่าวไว้ว่า
พ่อขุนงำเมืองเป็นโอรสของพ่อขุนมิ่งเมือง
กษัตริย์แห่งเมืองภูกามยาวหรือพะเยาในปัจจุบัน หลังจากพระราชบิดาสวรรคต
พ่อขุนงำเมืองจึงขึ้นครองราชย์ในพ.ศ. ๑๘๐๑ จนถึง ๑๘๔๑
พ่อขุนงำเมืองเป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพ เป็นยุคที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก
เล่ากันว่าเสด็จไปทางไหน “แดดก็บ่ฮ้อน ฝนก็บ่ฮำ” พ่อขุนงำเมืองปกครองเมืองภูกามยาวจนเจริญเป็น ๑
ใน ๓ อาณาจักรของชนเผ่าไทยแถบนี้ ซึ่งมีอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย
และอาณาจักรพะเยา พ่อขุนงำเมืองยังเป็นพระสหายร่วมสำนักศึกษากับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
และต่อมาได้เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพญาเม็งราย
ทั้งสามพระองค์ทรงประกอบพิธีสาบาน หลั่งพระโลหิตจากปลายนิ้วลงในจอกสุราเดียวกัน ณ
ริมฝั่งแม่น้ำขุนภู แล้วประทับหันพระปฎษฏางค์พิงกัน (อิงหลังชนกัน)
ตั้งสัตยาอธิษฐานว่าจะทรงรักใคร่ปรองดองซื่อสัตย์ต่อกันชั่วชีวิต
แล้วต่างก็ดื่มพระโลหิตจอกนั้น ภายหลังถึงเรียกแม่น้ำขุนภูว่า “แม่น้ำอิง”
งานบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง
เป็นงานประเพณียิ่งใหญ่ของชาวพะเยา จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันที่ ๕ มีนาคม
ซึ่งตรงกับวันประสูติของพ่อขุนงำเมือง งานจัดขึ้น ณ ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง
ริมกว๊านพะเยา มีขบวนแห่สักการะจากทุกอำเภอจัดอย่างสวยงาม มีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ
เดินทางมาร่วมพิธีบวงสรวงเป็นจำนวนมาก
วัดพระธาตุจอมทอง
พระธาตุจอมทอง เป็นเจดีย์ทรงล้านนาสูง ๓๐ เมตร
ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง ๙ เมตร ซ้อนกันสามชั้น รองรับองค์ระฆัง
ส่วนยอดสุดเป็นฉัตรสีทอง ฐานโดยรอบข้างล่างบุด้วยแผ่นโลหะ ดุนลายเป็นรูป ๑๒
นักษัตร และลายไทยอันงดงามมาก ลักษณะคล้ายพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน
วัดพระธาตุจอมทองตั้งอยู่บนเนินเขาตรงข้ามวัดศรีโคมคำ ต.เวียง อ.เมือง
จากสี่แยกประตูชัย ทางหลวงหมายเลข ๑ มุ่งหน้าสู่แม่ใจ ๒.๕ กิโลเมตร
มีแยกซ้ายมือผ่านหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไป ๓๐๐ เมตร วัดอยู่ทางขวามือ
ความเป็นมานั้นเล่ากันว่า
พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เมืองภูกามยาว
ประทับแรมบนดอยตั้งอยู่บนฝั่งหนองเอี้ยงทางทิศเหนือ พระองค์ได้มอบพระเกศธาตุองค์หนึ่งเพื่อนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำบนดอยนั้น
เป็นถ้ำลึก ๗๐ วา ซึ่งครอบครัวบ้านช่างทองที่นำภัตตาหารมากถวาย
ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับตำนานของพระเจ้าตนหลวงแห่งวัดศรีโคมคำ
วัดลี
วัดลีเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว
(วัดลี) ตั้งอยู่หลังโรงเรียนเทศบาล ๓ เป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๐๓๘
ตั้งอยู่ในบริเวณเวียงพยาวหรือเวียงรูปน้ำเต้า ขนาดความกว้าง ๑,๐๐๐ เมตร ยาว ๑,๕๐๐ เมตร มีแนวคูเมืองล้อมรอบ
มีร่องรอยของซากโบราณสถานที่เป็นวัดร้างหลายแห่งอยู่ภายในบริเวณตัวเวียง
ปัจจุบันเหลือเพียงวัดลีแห่งนี้ เวียงพยาวนี้นักวิชาการสัณนิษฐานว่า
น่าจะเป็นเมืองยุคแรกๆของพะเยา คือตั้งแต่สมัยขุนจอมธรรมมาสร้างเมืองพะเยา
จากการขุดค้นทางโบราณคดีในตัวเวียงแห่งนี้
ยังไม่พบหลักฐานที่มีอายุเก่าแก่ไปถึงสมัยขุนจอมธรรมหรือยุคไกล้เคียง
พบแต่เพียงหลักฐานสมัยพุทธศตวรรษ ๒๐-๒๑ เท่านั้น ซึ่งเป็นยุคที่เวียงพะเยาแห่งนี้อยู่ในช่วงเจริญรุ่งเรืองสูงสุด
โดยเฉพาะนับตั้งแต่สมัยพระยายุทธิษฐิระ
มาเป็นเจ้าสี่หมื่นปกครองเมืองพะเยาในพ.ศ.๒๐๑๗ เป็นต้นมา
พิพิธภัณฑ์เวียงพยาวแห่งวัดลีเป็นที่เก็บศิลปะโบราณวัตถุภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย
ให้ได้เรียนรู้ มีพระพุทธรูปหินทรายปางต่างๆ ศิลปะสกุลช่างพะเยาที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสุโขทัย
และจะได้พบกับพระพุทธรูปหินทรายวัดติโลกอาราม (องค์จริงอีกด้วย)
เป็นพระปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง ๘๒ ซม. สูง ๙๙ ซม.
ขุดพบได้ที่วัดติโลกอาราม กลางกว๊านพะเยา อายุในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ทั้งยังมีพระสำริดและศิลาจารึกอักษรฝักขามอีกมากมาย
ที่นี่บอกเล่าเรื่องราวย้อนอดีตให้ได้รับรู้ถึงความเป็นมาของพะเยาได้เป็นอย่างดี
จึงไม่ควรพลาดที่จะมาเยือนวัดลีแห่งนี้เมื่อมาถึงพะเยา
วัดศรีอุโมงค์คำ
ชาวบ้านเรียกว่าวัดสูง เนื่องจากตั้งอยู่บนเนินสูง
โบสถ์และเจดีย์ก็ตั้งอยู่บนฐานสูง มองดูโดดเด่น
เมื่อมองจากทุกทิศทางและมองจากริมกว๊านพะเยา ที่วัดศรีอุโมงค์คำมีพระเจ้าล้านตื้อและพระเจ้าแข้งคม
พระเจ้าล้านตื้อหรือพระเจ้าแสนแซ่หรือหลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย
ศิลปะสุโขทัยผสมศิลปะพะเยา ปิดทองทั้งองค์
ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่งดงามแห่งล้านนา
ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในโบสถ์คู่กับพระเจ้าแข้งคม คำว่า “ตื้อ” เป็นหน่วยการนับของล้านนาดังนี้ หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ
ตื้อ
พระเจ้าแข้งคม เป็นพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย
หน้าตักกว้าง ๑.๓ เมตร สูง ๑.๙ เมตร บริเวณหน้าแข้งมีลักษณะเป็นเหลี่ยม แตกต่างจากพระพุทธรูปโดยทั่วไป
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระยายุทธิษฐิระ
ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่
พระเจ้าติโลกราชโปรดให้สร้างพระเจ้าแข้งคมประดิษฐานในวัดศรีเกิด จ.เชียงใหม่
พระยายุทธิษฐิระจึงนำแบบอย่างมาสร้างประดิษฐานขึ้นที่พะเยา
แตกต่างกันที่วัสดุที่พะเยาเป็นพระพุทธรูปหินทราย
ส่วนทางเชียงใหม่เป็นพระพุทธรูปสำริด
เจดีย์เป็นศิลปะเชียงแสนสีทองอร่าม อยู่ด้านหลังโบสถ์
มีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ๓ ชั้น ต่อด้วยเรือนธาตุรูปแปดเหลี่ยมย่อมุม
บนเรือนธาตุมีซุ้ม จระนำทั้งสี่ทิศ สูงขึ้นเป็นองค์ระฆังกลม บัลลังก์
ปล้องไฉนและปลียอด
พระเจ้าทันใจ เป็นพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย
หน้าตัก ๒ เมตร ประดิษฐานในวิหารหลังเสาที่ตั้งอยู่ติดกับอาคารเรียนของ โรงเรียนพินิตประสาธน์
ชาวบ้านมีความเชื่อว่า ขอพรสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้นอย่างรวดเร็วทันใจ
ภายในศาลายังมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งคือ พระเจ้ากว๊าน
เป็นพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑ เมตร
ขุดพบในเจดีย์โบราณกลางกว๊านพะเยา
วัดตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา จากสี่แยกประตูชัย
ใช้ถนนประตูชัยตรงเข้าถนนดอนสนาม แล้วเลี้ยวซ้ายเข้า ถ.พหลโยธิน (สายเก่า)
ตรงไปประมาณ ๓๐๐ เมตร วัดอยู่ขวามือ
วัดป่าแดงบุญนาค
เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยพระพุทธศาสนาเข้ามาในอาณาจักรพะเยา
เดิมชื่อวัดบุญนาค ตอนหลังมีการสร้างวัดใหม่เพิ่มชื่อว่า วัดป่าแดง
ปัจจุบันก็รวมเป็นวัดเดียวกันชื่อ วัดป่าแดงบุญนาค เป็นวัดสำคัญของเมืองพะเยา
พบศิลาจารึก ๒ หลักในบริเวณวัด จารึกหลักที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๔๒
เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดพญาร่วง จารึกหลักที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๗๘
กล่าวถึงพระเป็นเจ้าอยู่หัว (พระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์เชียงใหม่)
มีราชโองการให้เจ้าเมืองพะเยาสร้างมหามณฑปขึ้นในเมืองพะเยา
จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ประกอบกับลักษณะแบบแผนขององค์เจดีย์แบบสุโขทัย
ทำให้พิจารณาได้ว่าวัดนี้น่าจะสร้างสมัยพระยายุทธิษฐิระ เจ้าเมืองพิษณุโลก
เมื่อครั้งที่ท่านอพยพมาอยู่ล้านนา เป็นเจ้าเมืองพะเยา ตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในวัด มีพระเจดีย์ลักษณะเป็นศิลปะแบบสุโขทัย
พระเจดีย์ทรงล้านนามีลักษณะคล้ายกับเจดีย์วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
มีเนินซากโบราณสถานจำนวน ๒๕ แห่ง ซากแนวกำแพงโบราณ ๔ แนว
สถานที่ตั้งวัดป่าแดงบุญนาค ตั้งอยู่ ณ บ้านป่าแดง ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง
จ.พะเยา อยู่ห่างจากตัวเมืองพะเยาประมาณ ๑.๕ กิโลเมตรไปทางทิศเหนือ วัดป่าแดงบุญนาคได้รับการยกย่องให้เป็นวัดแรกที่มีการตานก๋วยสลาก
หรือประเพณีสลากภัตรในปัจจุบัน
วัดป่าแดงบุญนาคเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ที่สำคัญของจังหวัดพะเยาคือ
หลวงพ่อนาคและพระพุทธรูปไม้แก่นจันทร์ ปัจจุบันประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
วัดหลวงราชสัณฐาน
วัดตั้งอยู่ในตำบลเวียง อ.เมือง จ.พะเยา
เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาเจ้าหลวงวงศ์ร่วมกับชาวบ้านได้บูรณปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จในปี
พ.ศ. ๒๓๘๗ ชาวบ้านเรียกว่าวัดหลวง เนื่องจากเป็นวัดที่เจ้าหลวงวงศ์ซึ่งครองเมืองพะเยาเป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์นั่นเอง
ต่อมาได้มีประชาชนมาประกอบพิธีทางศาสนาและได้ชื่อว่าวัดหลวงราชสัณฐาน
วิหารเป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมืองล้านนาที่สวยงามแห่งหนึ่งมีอายุกว่าร้อยปี
ด้านทิศตะวันออกที่เสาประตูทั้งสองข้าง มีรูปปั้นสิงห์เฝ้าประตูข้างละตัว
เดินเหยียบย่างตรงขึ้นบันไดนาค
ทางเข้าสู่ประตูวิหารมีสิงห์ปั้นด้วยปูนที่ข้างประตูอีกด้านละตัว
ภายในวิหารเป็นโถงใหญ่ ภายในเป็นที่ตั้งพระประธานและพระพุทธรูปอีก ๔ องค์
ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่อยู่ภายในเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวยางไม้ เขียนลงบนกระดาษสา ผ้าแปะอยู่บนผนังไม้เป็นเรื่องมหาชาติชาดกและพุทธประวัติในปี
๒๕๒๗ เกิดพายุฝนทำให้วิหารพังทลายลงมาทั้งหมด
ต่อมาเมื่อสร้างวิหารหลังใหม่บนฐานเดิมและคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมไว้
ทางวัดได้นำภาพจิตรกรรมของเดิมมาติดตั้ง ประกอบเข้ากับวิหารหลังใหม่
เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวน่าแวะไปชมอย่างยิ่ง พระเจดีย์เป็นทรงพื้นเมืองล้านนา
ประกอบด้วยฐานเขียงสี่เหลี่ยมสามชั้น ต่อด้วยบัวหงาย มีเรือนธาตุถัดขึ้นไป
เป็นบัวคว่ำบัวหงาย ต่อด้วยฐานเขียงรูปทรงกลมสามชั้น ต่อด้วยมาลัยเถา รูปทรงกลม
ถัดขึ้นเป็นคอระฆังกลม องค์ระฆังรูป ๘ เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ๘ เหลี่ยม
ปล้องไฉนเป็นปูนปั้นรูปกลีบบัว ๒ ชั้นและปลียอด เข้าชมวิหารติดต่อพระภิกษุ เบอร์โทร ๐๕๔ ๔๘๒๒๒๔
วัดอนาลโยทิพยาราม
วัดอนาลโยทิพยารามแห่งดอยบุษราคัม อุทยานพระพุทธศาสนา
อยู่ห่างจากตัวจังหวัด ๒๐ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๑ ไปตามทิศเหนือ มุ่งหน้าสู่อำเภอแม่ใจ
ประมาณ ๗ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๒๗ และเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข
๑๑๙๓ ถ้าใช้เส้นทางทิศใต้ มุ่งหน้าสู่ อ.งาว จ.ลำปาง กิโลเมตรที่ ๔ สี่แยกแม่ต๋ำ
เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๙๓ ก็เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่เดินทางไปสู่วัดอนาลโยทิพยาราม
วัดตั้งอยู่ที่หมู่บ้านสันป่าบง หมู่ที่ ๖
ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จ.พะเยา มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒,๘๐๐ ไร่ เริ่มการก่อสร้างโดย พระอาจารย์ไพบูลย์ สมังคโล
ขณะทำรออยู่วัดรัตวนาราม ท่านมีปรากฏการณ์เห็นทรายทองไหลลงมาสู่วัดเป็นสายรังสี
แสงของทรายทองที่ไหลพรั่งพรูราวกับสายน้ำนั้นอาบวัดทั้งวัดแทบจะกลายเป็นวัดทองคำ
ท่านมองทวนลำแสงสีทองไป ก็เห็นเขาที่อยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยานั้นเอง
จากนั้นได้มีโยมอารธนาไปดูสถานที่สำคัญและแปลกประหลาด
เพื่อจะได้สร้างสำนักสงฆ์ไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศลของชาวบ้าน คือชาวบ้านมักจะเห็นแสงสว่างเป็นดวงกลมล่องลอยไปมาอยู่บนดอยสูง
แสงนั้นดูสว่างเรืองรอง บางทีก็สว่างจ้าเป็นสีเหลืองสดอาบทั้งดอยราวกับเป็น
ดอยทองคำ เหตุการณ์เหล่านี้มักปรากฏในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่นวันพระ ๘ หรือ ๑๕
ค่ำ เป็นต้น หลังจากที่พิจารณาดูสถานที่แล้วเห็นว่าเป็นสถานที่สวยเหมาะสมแก่การเจริญเมตตาภาวนาเป็นอย่างยิ่ง
ควรที่จะสร้างให้เป็นสถานที่พักปฎิบัติธรรมสมเด็จพระญาณสังวร
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เป็นองค์ประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๒๕
เวลา ๑๒.๔๕ น. จากนั้นก็ได้สร้างสิ่งต่างๆมาจนปรากฏเห็นอยู่ในปัจจุบัน แต่มีอุปสรรคสำคัญอยู่ประการหนึ่งที่ทำให้วัดต้องขบคิดหนักคือ
“การขาดแคลนน้ำ”
ระหว่างที่ท่านกำลังครุ่นคิดหาทางแก้ไข
วันหนึ่งท่านพระอาจารย์ไพบูลย์ได้รับอาราธนานิมนต์ไปเจริญพระพุทธมนต์ ณ พระที่นั่ง
ไพศาลทักษิณในพระบรมหาราชวัง ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมมาถึงท่าน
อาจารย์ทรงมีพระราชปฏิสันถารว่า “ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์ได้ไปสร้างสำนักสงฆ์บนเขาสูงที่จังหวัดพะเยาทางฟากกว๊าน
คงจะขาดแคลนน้ำ ไม่เป็นไรผมจะปรึกษากรมชลประทานให้” วันพุธที่
๑๘ มกราคม ๒๕๒๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมนมัสการพระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล
หัวหน้าสำนักสงฆ์อนาลโยเป็นการส่วนพระองค์ ในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น
ทรงสราญพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง ทรงสนทนาธรรมแล้วทรงเสวยพระกระยาหารค่ำ ณ
ที่ประทับรับรองของสำนักสงฆ์อนาลโย ประทับอยู่ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น. จนถึงเวลา
๒๐.๐๐ น.
จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับและได้ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานจัดสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ต๋อม
และอ่างเก็บน้ำห้วยทับช้าง เพื่อผันน้ำมาใช้บนสำนักสงฆ์ และจ่ายไปยังไร่นาของประชาชน
จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นที่สุด
กระทรวงศึกษาธิการและมหากรุณาธิคุณ
อนุญาตให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๓๐
และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้วัดอนาลโย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๓๑ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร
เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ทรงตัดลูกนิมิตอุโบสถและทรงเปิดวัดอนาลโยโดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งหมดรวม ๖ ปีเศษ
สิ่งที่น่าสนใจ
บริเวณวัดแบ่งเป็นเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส มีสิ่งน่าสนใจดังนี้
เขตพุทธาวาส
จากลานจอดรถเดินผ่านซุ้มประตูขึ้นสู่บันไดหิน พบสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาอยู่ท่ามกลางต้นไม้น้อยใหญ่หลายสิ่ง ได้แก่
เขตพุทธาวาส
จากลานจอดรถเดินผ่านซุ้มประตูขึ้นสู่บันไดหิน พบสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาอยู่ท่ามกลางต้นไม้น้อยใหญ่หลายสิ่ง ได้แก่
หอหลวงปู่ขาว อนาลโย
เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี ที่พระเกจิที่พระอาจารย์ไพบูลย์ให้ความเคารพนับถือ
เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี ที่พระเกจิที่พระอาจารย์ไพบูลย์ให้ความเคารพนับถือ
วิหารพระหมื่นปี
อาคารมีขนาดใหญ่ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิซึ่งเป็นพระประธาน ใช้เป็นที่ประชุมสงฆ์หรือปฏิบัติธรรม
อาคารมีขนาดใหญ่ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิซึ่งเป็นพระประธาน ใช้เป็นที่ประชุมสงฆ์หรือปฏิบัติธรรม
พระนาคปรก
ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ตรงข้ามวิหารพระหมื่นปี เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสีขาว มีเศียรพญานาคอยู่ด้านหลัง
ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ตรงข้ามวิหารพระหมื่นปี เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสีขาว มีเศียรพญานาคอยู่ด้านหลัง
หอพระเงิน
เป็นอาคารไม้ลวดลายสวยงาม ไม่มีผนัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางลีลาจำนวนมาก แต่ละองค์สูงประมาณ ๕๐ ซม. และมีรูปหล่อของสมเด็จพระพุฒฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หอพระมีระเบียงด้านหน้า ที่สามารถชมทิวทัศน์กว๊านพะเยา จากมุมสูงได้ ถัดจากหอพระขึ้นไปเป็นสถูป ใกล้ๆกันมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ นามว่าพระพุทธเมตตานภาวิสุทธิมงคล ประดิษฐานกลางแจ้ง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสีขาว หน้าตักกว้างราว ๑๐ เมตร มีรูปปั้นกระต่ายสองตัวอยู่ด้านหน้า
เป็นอาคารไม้ลวดลายสวยงาม ไม่มีผนัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางลีลาจำนวนมาก แต่ละองค์สูงประมาณ ๕๐ ซม. และมีรูปหล่อของสมเด็จพระพุฒฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หอพระมีระเบียงด้านหน้า ที่สามารถชมทิวทัศน์กว๊านพะเยา จากมุมสูงได้ ถัดจากหอพระขึ้นไปเป็นสถูป ใกล้ๆกันมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ นามว่าพระพุทธเมตตานภาวิสุทธิมงคล ประดิษฐานกลางแจ้ง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสีขาว หน้าตักกว้างราว ๑๐ เมตร มีรูปปั้นกระต่ายสองตัวอยู่ด้านหน้า
โบสถ์
ศิลปะล้านนา
หน้าบันประดับด้วยปูนปั้นลวดลายสวยงาม หางหงส์และใบระกาเป็นรูปพญานาค บันไดทางขึ้นเป็นปูนปั้นรูปพญานาคเช่นกัน พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก แกะจากไม้ ด้านหลังโบสถ์มีเจดีย์ศิลปะล้านนา ประดับปูนปั้นสวยงาม
หน้าบันประดับด้วยปูนปั้นลวดลายสวยงาม หางหงส์และใบระกาเป็นรูปพญานาค บันไดทางขึ้นเป็นปูนปั้นรูปพญานาคเช่นกัน พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก แกะจากไม้ ด้านหลังโบสถ์มีเจดีย์ศิลปะล้านนา ประดับปูนปั้นสวยงาม
เขตสังฆาวาส
ระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส มีประตูไม้แกะสลักเป็นรูปพญานาคบานใหญ่กั้นในเขตสังฆาวาส มีกุฏิสงฆ์อยู่ท่ามกลางแมกไม้ บรรยากาศสงบร่มรื่น มีหอพระโบราณและหอพระแก้ว เป็นที่เก็บรวบรวมพระพุทธรูปองค์เล็กอันมีค่า ได้แก่ พระแก้วมรกตจำลอง พระบุษราคัม และพระทองคำ ซึ่งทางวัดจัดเวรยามดูแลความปลอดภัยตลอด ๒๔ ชั่วโมง
ระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส มีประตูไม้แกะสลักเป็นรูปพญานาคบานใหญ่กั้นในเขตสังฆาวาส มีกุฏิสงฆ์อยู่ท่ามกลางแมกไม้ บรรยากาศสงบร่มรื่น มีหอพระโบราณและหอพระแก้ว เป็นที่เก็บรวบรวมพระพุทธรูปองค์เล็กอันมีค่า ได้แก่ พระแก้วมรกตจำลอง พระบุษราคัม และพระทองคำ ซึ่งทางวัดจัดเวรยามดูแลความปลอดภัยตลอด ๒๔ ชั่วโมง
อุทยานพระพุทธศาสนา
ตั้งอยู่บนเขาอีกลูกหนึ่งถัดจากตัววัด ต้องขับรถไปอีกราว ๒.๖ กิโลเมตร มีสิ่งก่อสร้างหลายแห่งเรียงรายไปตามภูเขา ที่สำคัญได้แก่ สังเวชนียสถาน ๔ จำลอง ซึ่งถอดแบบจากสวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธองค์ มีวิหารมายาเทวีและเสาอโศก รวมทั้งปูนปั้นรูปราชกุมารสิทธัตถะยืนชี้นิ้วมือข้างขวาขึ้นด้านบน มีดอกบัวศิลารองรับ พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ สถูปสารนาถสถานที่ตรัสรู้ สถูปสารนาถสถานที่แสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ และกุสินาราสถานที่ปรินิพพาน
ตั้งอยู่บนเขาอีกลูกหนึ่งถัดจากตัววัด ต้องขับรถไปอีกราว ๒.๖ กิโลเมตร มีสิ่งก่อสร้างหลายแห่งเรียงรายไปตามภูเขา ที่สำคัญได้แก่ สังเวชนียสถาน ๔ จำลอง ซึ่งถอดแบบจากสวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธองค์ มีวิหารมายาเทวีและเสาอโศก รวมทั้งปูนปั้นรูปราชกุมารสิทธัตถะยืนชี้นิ้วมือข้างขวาขึ้นด้านบน มีดอกบัวศิลารองรับ พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ สถูปสารนาถสถานที่ตรัสรู้ สถูปสารนาถสถานที่แสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ และกุสินาราสถานที่ปรินิพพาน
จุดสูงสุดที่รถเข้าถึงได้คือ บริเวณลานพระพุทธลีลา ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์สูงใหญ่มองเห็นได้แต่ไกล
เป็นพระพุทธรูปทองเหลืองขัดเงารมดำสูง ๒๕ เมตร ทางเข้าเป็นซุ้มประตูโขงและบันไดนาค
บริเวณนอกเหนือจากนี้เป็นพื้นที่หวงห้ามเฉพาะคนภายใน
ด้วยเป็นที่ตั้งของพระตำหนักภูตะวัน
ซึ่งเคยใช้เป็นสถานที่รับรองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คราวเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดอนาลโยฯ
วัดราชคฤห์
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดใหม่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมือง
มีบรรยากาศสงบร่มรื่น ภายในวัดประดิษฐานเจดีย์องค์ไม่ใหญ่นักแต่งามน่าแวะเที่ยวชม
ความโดดเด่น คือ ซุ้มประตูโขงและเจดีย์อันงดงาม
ซุ้มประตูโขงเป็นซุ้มประตูทางเดินเข้าสู่วัด ประดับด้วยปูนปั้น นางฟ้าเทวดา พญานาค
และดอกไม้ ลวดลายโดดเด่นสะดุดตา ยอดซุ้มประตูเป็นรูปพรหมสี่หน้า
เจดีย์อยู่ด้านหลังโบสถ์ เป็นทรงแปดเหลี่ยมย่อมุม สูงประมาณ ๒๐ เมตร
องค์เจดีย์มีซุ้มจระนำและเจดีย์บริวารทั้งสี่ทิศตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม
ลานประทักษิณรอบเจดีย์กว้างด้านละ ๑.๕๐ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ
ประตูทางเข้ามีสี่ด้าน มีรูปปั้นสิงห์คู่เฝ้าประตูทุกด้าน
นับเป็นเจดีย์ศิลปะล้านนาที่สวยงามของเมืองพะเยา
ประมงน้ำจืดพะเยาและพระตำหนักสมเด็จย่า
เป็นสถานีประมงที่มีความสำคัญของภาคเหนือ
มีการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดเพื่อจำหน่ายแจกจ่ายแก่ประชาชนเพื่อนำไปเป็นอาชีพ
และเพื่อไปปล่อยยังแหล่งน้ำธรรมชาติ มีผลงานที่สำคัญของสถานีประมงน้ำจืดแห่งนี้คือ
การผสมเทียมปลาบึกได้เป็นครั้งแรกของโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖
ภายในจึงมีการตั้งพิพิธภัณฑ์ปลาบึกขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สังคมและประชาชนทั่วไป
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยเสด็จมาประทับ ณ สถานีประมงแห่งนี้
เมื่อครั้งมาทรงงานที่จังหวัดพะเยาในปีพ.ศ. ๒๕๑๔
ภายในสถานีประมงจึงมีพระตำหนักที่สมเด็จย่าเคยประทับและดูแลไว้เป็นอย่างดี
พระตำหนักตั้งอยู่ใกล้พิพิธภัณฑ์ปลาบึก เป็นเรือนไม้สองชั้น สภาพใกล้เคียงกับครั้งที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จมาประทับ
ข้าวของเครื่องใช้ยังมีสภาพเดิมทั้งสิ้น
ที่ตั้งสถานีประมงน้ำจืดและพระตำหนัก
จากสี่แยกประตูชัยใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ลงไปทางทิศใต้ มุ่งหน้าไปทางสี่แยกแม่ต๋ำ
ผ่านโรงเรียนเทศบาล ๓ และทางเข้าวัดลีไปไม่ไกลก็ถึงทางเข้าสถานีประมงน้ำจืดพะเยาอยู่ทางซ้ายมือ
น้ำตกจำปาทอง
อยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยหลวง
มีพื้นที่ครอบคลุมถึง ๓ จังหวัดคือ เชียงราย พะเยาและลำปาง
ที่ทำการอุทยานฯอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย
ตัวน้ำตกจำปาทองอยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพะเยา การเดินทางจากสี่แยกประตูชัย
ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ไปทางอำเภอแม่ใจ กิโลเมตรที่ ๗ แยกไปทางซ้ายมือ
ทางหลวงหมายเลข ๑๑๒๗ ผ่านวัดต๊ำม่อง วัดถ้ำกลางไปอีก ๕๐๐ เมตร
พบทางแยกซ้ายให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ ๔ กิโลเมตร พบหน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ดล.๖
(จำปาทอง) น้ำตกอยู่เลยหน่วยพิทักษ์ไปอีก ๓๕๐ เมตร น้ำตกอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ
๒๓ กิโลเมตร ที่ตั้งอยู่ที่บ้านต๊ำกลาง ต.ต๊ำ อ.เมือง ที่บ้านต๊ำในซึ่งอยู่ใกล้ๆกับน้ำตกมีชื่อเสียงในเรื่องการรักษาป่าอย่างเข้มแข็ง
พื้นที่ป่าได้รับประกาศให้เป็นป่าชุมชน
มีความอุดมสมบูรณ์เป็นต้นน้ำที่ไหลลงสู่กว๊านพะเยา น้ำตกจำปาทองเป็นน้ำตกขนาดใหญ่
มีความอุดมสมบูรณ์มีน้ำตลอดทั้งปี สายน้ำลดหลั่นลงมา ๖ ชั้น
ชั้นที่สวยที่สุดคือชั้นที่ ๒ และ ๓ และมีแอ่งให้ลงเล่นน้ำได้หลายแห่ง
มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเป็นระยะทาง ๒.๒๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ ๒ ชั่วโมง
ผ่านป่าดงดิบแล้ง
โบราณสถานบ้านร่องไฮ
เป็นโบราณสถานที่เป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่
อยู่ริมกว๊านพะเยา เป็นส่วนหนึ่งของวัดติโลกอารามในสมัยโบราณ บริเวณใกล้เคียงกันมีร่องรอยของศาสนสถานอยู่ประมาณ
๘-๙ แห่ง โดยมีกลุ่มโบราณสถานบ้านร่องไฮ ตำบลแม่ใส อำเภอเมือง
หลักฐานที่เคยพบเกี่ยวข้องโดยตรงกับวัดติโลกอาราม คือ จารึกวัดติโลกอาราม
พบที่เนินสันธาตุในกว๊านพะเยาใกล้กับท้ายหมู่บ้านร่องไฮ
บ้านโบราณอายุร้อยปีริมกว๊านพะเยา
บ้านโบราณที่ยังคงสภาพเดิมอยู่ของจังหวัดพะเยา
อยู่ริมถนนชายกว๊านเลียบกว๊านพะเยา ยังมีสภาพสมบูรณ์ให้สามารถชมดูได้
ซึ่งต้องขออนุญาตเจ้าของบ้านก่อน มีอยู่ ๒ หลัง
ตลาดเช้า
บรรยากาศเป็นตลาดพื้นเมืองที่อยู่ในย่านเทศบาล
เป็นตลาดที่ขายอาหารสดที่มีในท้องถิ่นทางภาคเหนือ มีทั้งเห็ด ผักสดพื้นเมือง
อาหารต่างๆ อาหารเช้าแบบชาวพะเยา กาแฟกับข้าวเหนียวร้อนๆ ทานกับปลาส้มทอด
ปลาส้มห่อไข่ อร่อยสุดยอดไปเลยและปลานานาชนิดสดๆจากกว๊านพะเยา
ไม่ควรพลาดที่จะมาเดินชมตลาดเช้าเมื่อมาถึงพะเยา
ตลาดโต้รุ่ง
ตลาดโต้รุ่งบรรยากาศคึกคัก
ตั้งแต่เริ่มพลบค่ำ เหมาะสำหรับคนที่ชอบบรรยากาศและทานอาหารในตอนกลางคืน
มีให้เลือกนับร้อยร้าน ตั้งอยู่บนถนนรอบเวียงประตูกลอง เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาถึงพะเยา
ศาลหลักเมืองพะเยา
ศาลหลักเมืองพะเยาตั้งอยู่ริมถนนท่ากว๊าน
มีถนนล้อมรอบทั้งสี่ด้าน อยู่ไม่ไกลจากริมกว๊านพะเยามากนัก และใกล้ๆกันนั้นคือวัดศรีอุโมงค์คำ
และอีกด้านหนึ่งเป็นวัดราชคฤห์ จากถนนประตูชัยเลี้ยวซ้ายไปจรดถนนท่ากว๊านก็สามารถเห็นศาลหลักเมืองได้อย่างชัดเจน
ศาลหลักเมืองพะเยามีความสวยงามทั้งกลางวันและกลางคืน
ไม่ควรพลาดทีจะต้องแวะไปกราบสักครั้งหนึ่งเมื่อถึงจังหวัดพะเยา
อ.ดอกคำใต้
วัดพระธาตุจอมศีล
วัดพระธาตุจอมศีลอยู่ในเขตวนอุทยานบ้านถ้ำ
มีต้นไม้ร่มรื่นทิวทัศน์สวยงาม สามารถชมทิวทัศน์เมืองดอกคำใต้ได้จากบนเขาที่ตั้งของวัดแห่งนี้
ที่ตั้งบ้านถ้ำ ต.บ้านถ้ำ อ.ดอกคำใต้ ห่างจากอำเภอดอกคำใต้ ๑๕ กิโลเมตร
ใช้เส้นทางหมายเลข ๑๒๕๑ ไปทางเชียงม่วน ทางเข้าวัดอยู่ทางซ้ายมือ
เลี้ยวเข้าถนนข้างปั้มน้ำมัน ผ่านวัดสุวรรณคูหาไปอีกเล็กน้อยก็ถึงวัดพระธาตุจอมศีล
โบสถ์สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นศิลปะล้านนา
บันไดประดับปูนปั้น ลายพระพุทธรูปปางนาคปรก มีเทวดาและหงส์อยู่รายรอบ
ประตูและหน้าต่างเป็นไม้แกะสลักลวดลายเกี่ยวกับพุทธประวัติ
ภายในโบสถ์มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิสกุลช่างพะเยา หน้าตักกว้าง
๕ เมตร จิตรกรรมฝาผนังเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติและพุทธชาดก
ตลอดจนภาพวิถีชีวิตและการละเล่นของเด็ก พระธาตุจอมศีลอยู่ด้านหลังโบสถ์บนภูเขา
มีบันไดนาค ๖๙ ขั้นทอดขึ้นไป เป็นเจดีย์เก่าศิลปะล้านนา ฐานกว้าง ๘ เมตร สูงราว ๒๐
เมตร จากจุดนี้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์เมืองดอกคำใต้ได้อย่างชัดเจน
อ่างเก็บน้ำห้วยชมพู
– ผาเทวดา
ที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำห้วยชมพู-ผาเทวดา
อยู่ในเขตพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ อบต.สันโค้ง
ที่นี่มีกิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยวหลายอย่าง
มีการเดินป่าขึ้นไปโรยตัวที่หน้าผาเทวดา เที่ยวน้ำตก ชมทุ่งทานตะวันในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ท้องทุ่งบริเวณตำบลสันโค้งจะสวยงามสว่างสดใสเต็มไปด้วยดอกทานตะวันบานท่ามกลางขุนเขารายรอบ
เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมาชมความงามและถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนสันโค้ง อ่างเก็บน้ำห้วยชมพู-ผาเทวดา
อยู่ห่างจากอำเภอดอกคำใต้ ๑๒ กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางดอกคำใต้-จุน
ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๑ ให้แยกเข้าบ้านจำไก่ทางขวามือ กิโลเมตรที่ ๒
ห่างจากอำเภอดอกคำใต้ ถนนผ่านทุ่งนาเป็นระยะทาง ๖ กิโลเมตร จนถึงสี่แยกบ้านจำไก่
จากนั้นให้ตรงขึ้นไปอีก ๔ กิโลเมตร
จะถึงบริเวณอ่างเก็บน้ำที่เป็นที่ตั้งศูนย์บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
กิจกรรมที่พลาดไม่ได้คือเดินป่าและโรยตัวหน้าผาเทวดา
เดิมเรียกว่า หน้าผากิ่งป่าแฝด แต่ตอนหลังเรียกว่า หน้าผาเทวดา
บริเวณนี้มีถ้ำน้อยใหญ่อยู่กว่าสิบแห่ง ถ้ามีเวลาควรจะแวะค้างคืนที่โฮมสเตย์บ้านสันโค้ง
เพื่อเตรียมตัวสำหรับการเดินป่าปีนผาเทวดา ซึ่งเป็นการบริการของตำบลสันโค้ง
จุดโรยตัวจะต้องนั่งรถขับเคลื่อนสี่ล้อไปจนสุดถนน
จากนั้นจะต้องเดินเท้าไปอีกประมาณ ๓ กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างลำบากและท้าทาย
ใช้ระยะเวลาการเดินประมาณ ๓ ชั่วโมง อุปกรณ์สำหรับโรยตัว ถุงมือ หมวก ตัวล็อกต่างๆ
ทางอบต.สันโค้ง มีให้พร้อม หน้าผาเทวดาจัดให้มีการโรยตัวที่ความสูง ๒๕ เมตร ๕๐
เมตร และ ๑๑๐ เมตร เจ้าหน้าที่ที่ชำนาญคอยให้การแนะนำการโรยตัวและดูแลความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด
เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่ชอบธรรมชาติและรักความตื่นเต้น
ระหว่างทางที่เดินไปกลับหน้าผาเทวดานั้น จะผ่านถ้ำฝนแสนห่า
ถ้ำที่มีน้ำตกไหลลงมาคล้ายสายฝนและยังอาจจะพบนกยูงอีกด้วย
ช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้ป่าขึ้นอยู่บริเวณน้ำตกห้วยชมพู โดยเฉพาะบริเวณชั้นที่
๓ ของน้ำตกที่เรียกว่า ตาดหัวช้าง กิจกรรมเดินป่าและโรยตัวหน้าผาเทวดา
ติดต่อได้ที่อบต.สันโค้ง เบอร์โทร ๐๕๔-๔๑๙๑๐๗
หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ โทร. ๐๕๔-๔๒๑๕๕๗
อ.แม่ใจ
หนองเล็งทราย
ใช้ถนนทางหลวงหมายเลข
๑ มุ่งหน้าสู่ทิศเหนือ พะเยา-เชียงราย มาจนถึงแยกศรีบุญเรือง
เลี้ยวขวาเข้าถนนพหลโยธินสายในไปประมาณ ๑ กิโลเมตร ถึงวัดโพธารามทางซ้ายมือ
ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้างวัดไปจนสุดทางจะพบกับหนองน้ำแห่งอำเภอแม่ใจเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่คือ
หนองเล็งทราย หนองแห่งนี้เนื้อที่ประมาณ ๕,๕๐๐ ไร่
ครอบคลุมหลายตำบล ได้แก่ ตำบลป่าแฝก ตำบลศรีถ้อย ตำบลแม่ใจ และตำบลบ้านเหล่า
หนองเล็งทรายมีประโยชน์แก่ชาวบ้านให้ได้ใช้น้ำในการเพาะปลูกทำประมงและเลี้ยงสัตว์
และใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
บริเวณหนองน้ำมีร้านขายอาหารจำพวกปลาและกุ้งเต้นอีกด้วย
วัดศรีสุพรรณ
วัดศรีสุพรรณเป็นวัดสำคัญของชาวแม่ใจ
เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ใจ
ตำบลและอำเภอแม่ใจ ใกล้ที่ว่าการอำเภอ
พระเจ้าทองทิพย์เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยสมัยเชียงแสนรุ่น
๓ หน้าตักกว้าง ๒๙ นิ้ว สูง ๒๔ นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงาม พระพักตร์เนื้อทองสุกปลั่ง
พระเกศเป็นเปลวไฟ ในอดีตตามประวัติกล่าวกันว่าบริเวณบ้านแม่ใจเต็มไปด้วยป่า
โดยเฉพาะป่าไผ่ขึ้นอย่างหนาแน่นจนเกิดไฟไหม้
ชาวบ้านได้พบพระพุทธรูปอยู่ในกอไผ่โดยไม่เสียหายจากไฟไหม้
จึงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในอาคารชั่วคราวเพื่อป้องกันแดดฝน
ต่อมาจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานในวิหารที่ชาวบ้านร่วมมือร่วมใจกันสร้างขึ้นมา
ชาวแม่ใจเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าทองทิพย์
ปีใดเกิดโรคร้ายแห้งแล้งพืชผลเสียหายเกิดขึ้นในชุมชน
ชาวบ้านจะอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์สรงน้ำบูชา จากนั้นฝนจะตกลงมาเป็นที่น่าอัศจรรย์
เทศกาลสงกรานต์ ๑๓-๑๗ เมษายน จะมีประเพณีแห่พระเจ้าทองทิพย์ โดยถือวันที่ ๑๗
เป็นวันสำคัญที่สุด ประชาชนจะร่วมกันสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์เพื่อความเป็นสิริมงคล วิหารเปิดเวลา ๖.๐๐ น.– ๑๘.๐๐
น. โทร. ๐๕๔-๔๑๗๑๘๐
วัดศรีบุญเรือง
เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าองค์ดำ
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของชาวแม่ใจ ปกติวิหารจะไม่เปิด
จะต้องโทรติดต่อเจ้าอาวาสเพื่อขอเข้าวิหารสักการะพระเจ้าองค์ดำ โทร. ๐๕๔-๔๙๙๐๑๐
วัดตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข ๑ พะเยา-เชียงราย บ้านขัวตาด ต.ศรีถ้อย อ.แม่ใจ
บริเวณแยกศรีบุญเรือง วัดตั้งอยู่ทางซ้ายมือ พระเจ้าองค์ดำประดิษฐานอยู่ในวิหาร
เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒๗ นิ้ว สูง ๓๗ นิ้ว สีดำทั้งองค์
พ่อหนานใจ วรรณจักร เป็นผู้ค้นพบในวัดร้างแถบบ้านดงอินตา และบ้านดงบุญนาคอยู่ใกล้กับหนองเล็งทราย
จึงได้อัญเชิญไปประดิษฐ์สถานที่วัด ขณะนั้นชื่อวัดขัวตาดและเป็นวัดร้าง
ชาวบ้านเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าองค์ดำว่า
ดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ หรือเดือน ๙
ของทางภาคเหนือ ประมาณเดือนมิถุนายน
จะมีงานประเพณีสรงน้ำพระเจ้าองค์ดำเป็นประจำทุกปี
บ้านปางปูเลาะ
เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยนหรือเย้า
ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนลิ้นจี่และไร่กาแฟ ทิวทัศน์สวยงาม อากาศเย็นสบายทั้งปี
เส้นทางสะดวก สภาพถนนดี รถยนต์เข้าถึงหมู่บ้าน
หากต้องการพักค้างแรมควรจะเตรียมอาหารและเครื่องดื่มไปด้วย ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีถ้อย
อ.แม่ใจ ห่างจากตัวอำเภอแม่ใจไป ๑๒ กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข ๑
ไปทางอำเภอแม่ใจถึงวัดศรีบุญเรืองให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้างวัด เป็นทางลาดยาง ๑๒
กิโลเมตรจะถึงหมู่บ้านปางปูเลาะ
สิ่งที่น่าสนใจคือศูนย์วัฒนธรรมชนเผ่าเมี่ยนหรือเย้า
เป็นที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เครื่องมือเกษตร
อุปกรณ์และเครื่องมือล่าสัตว์ รวมถึงประวัติความเป็นมาของชุมชน
สวนลิ้นจี่ที่ปลูกสลับกับกาแฟตามเชิงเขาก็น่าสนใจ
ทั้งลิ้นจี่และกาแฟเป็นสินค้าขึ้นชื่อของอำเภอแม่ใจ
สามารถเข้าไปเที่ยวชมสวนได้ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม
ลิ้นจี่ออกผลสามารถเลือกชิมสดๆได้จากต้นและหาซื้อได้ในราคาถูก
นอกจากนี้ยังมีถ้ำประกายเพชรที่มีหินงอกหินย้อยอันสวยงาม
รวมทั้งขึ้นไปชมทิวทัศน์บนผาแดง ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาว
จะได้ชมดอกเสี้ยวบานสะพรั่งทั่วหุบเขาบ้านผาแดง
ที่บ้านปางปูเลาะมีบริการบ้านพักแบบโฮมสเตย์ในหมู่บ้านชาวเขา
ติดต่อล่วงหน้าได้ที่ โทร. ๐๘๖-๑๙๘๖๒๖๙ , ๐๘๙-๕๕๙๖๗๕๓, ๐๘๙-๕๖๐๗๓๗๗
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น